พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วันนี้เราเข้ากรุงเทพฯ กันบ้างดีกว่า คุ้นๆ กันบ้างไหมเอ่ย ? อยู่ใกล้กับวัดพระแก้วฯ เลย
แต่เดิมเป็นวังหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับวังหลวง ประกอบพระที่นั่งที่สำคัญ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย และชาติเพื่อนบ้าน นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2402 จัดแสดงข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา
เดินเข้าประตูพิพิธภัณฑ์มาทางซ้ายมือจะเป็นจุดจำหน่ายบัตร
*อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท*
เมื่อซื้อบัตรเรียบร้อยแล้ว รออะไรละคะ ? ลุยยยยยยยย !!
พร้อมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ต่างๆ รึยังเอ่ย ? จะพาย้อนยุคแล้วน๊าาาา อิอิ
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ครึ่งองค์
พบที่ วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(๑,๒๐๐-๑,๒๕๐ ปีมาแล้ว)
ทับหลังภาพหงส์และลายซุ้มพันธุ์พฤกษา
พบที่ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
พุทธศตวรรษที่ ๑๓ (๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
ศิราจารึกหลักที่ ๑ หรือ ศิราจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พบที่ เนินปราสาทเมืองโบราณสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย
จังหวัดสุโขทัย อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พุทธศักราช ๑๘๓๔
ทับหลังภาพวิษณุอนันตศายิน (นารายณ์บรรทมสินธุ์)
จากปราสาทกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ (๙๐๐ ปีมาแล้ว)
พระเศีรรพระพุทธรูป
ขุดพบในวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ (๕๐๐ ปีมาแล้ว)
และภายในพิพิธภัณฑนั้นจะมีประวัติพระพุทธรูปของแต่ละองค์
๑.ศรีษะหุ่นหลวง ตัวพระ
กรมพิณพาทย์และโขนหลวง ส่งมาเพื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (๑๐๐ ปีมาแล้ว)
๒.พระยารักใหญ่ (ศรีษะหุ่นหลวง พระราม)
กรมพิณพาทย์และโขนหลวง ส่งมาเพื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)
๓.พระยารักน้อย (ศรีษะหุ่นหลวง พระลักษณ์)
กรมพิณพาทย์และโขนหลวง ส่งมาเพื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)
๔.ศรีษะหุ่นหลวง ตัวนาง
กรมพิณพาทย์และโขนหลวง ส่งมาเพื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (๑๐๐ ปีมาแล้ว)
พระตำหนักแดง
เป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งของส่วนพระองค์ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๒
และสิ่งของเครื่องใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แต่ในอดีต
ภายในก็จะประกอบด้วยสิ่งของ เครื่องใช้เปรียบเสมือนห้องบรรทมนั่นเอง
ในส่วนนี้จะเป็นในเรื่องของการวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่สมัยยุคโบราณ
มีแบบจำลองโครงสร้างกระดูกของมนุษย์และประวัติการพัฒนา
จากถาพด้านบน คือ พิธีกรรมการฝั่งศพของคนถ้ำ
ในสมัยยุคหินนอกจากถ้ำจะเป็นที่พักอาศัยแล้วยังเป็นุสานอีกด้วย การฝังศพของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยใช้โลงศพไม้ การปลงศพที่ไว้ในโลงไม้แล้วนำไปวางไว้ตามถ้ำที่มักพบบนหน้าผาสูง ลักษณะโลงไม้จะเป็นท่อนซุงที่ขุดเนื้อไม้ข้างในออก ส่วนหัวและท้ายแกะเป็นรูปคล้ายๆ ศรีษะคนหรือสัตว์
มีประวัติในสมัยก่อนตั้งแต่การเริ่มปั้นหม้อดินเผาต่างๆ วิถีชีวิตของคนในสมัยก่อน
ในส่วนนี้จะเป็นในเรื่องของยุคสมัยที่มีสงคราม มีแบบจำลองอาวุธในสมัยก่อนและเครื่องใช้การแต่งกายในการออกรบ
เป็นราชรถอีกองค์หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่ออัญเชิญพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ในงานพระเมรุคู่กับสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ซึ่งทรงใช้พระมหาพิชัยราชรถ พ.ศ. 2342
สัตว์หิมพานต์
การนำรูปสัตว์หิมพานต์มาตั้งประดบพระเมรุเป็นธรรมเนียมที่สืบมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของเขาพระเมรุ ที่เป็นแกนแห่งจักรวาลและเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามธรรมความเชื่อด้านคติจักวาลของไทยเรา
วันที่แอดมินไปมีทัศนศึกษาอยู่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งแอดมินได้ลองยืนฟังการบรรยายสักพัก
โอ้โหอึ้งมากค่ะ !! คนที่บรรยายคือนักเรียนด้วยกัน ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีมากจนแอดมินแอบคิด
เก่งขนาดนี้ทำงานเลยยังได้ ข้อมูลแน่นมาก ปรบมือรัวๆ ให้กับอนาคตของชาติเราหน่อยค่ะ ^^
นี่คือภาพบรรยากาศในพิพิธภัณฑ์ วันที่แอดมินไปพระมาศึกษาเยอะมาก
เพราะง่ายๆ เลย ที่นี่คือแหล่งรวมความรู้ประวัติศาสตร์ของไทยในทุกๆ เรื่อง
สุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุดแอดมินอยากฝากให้เพื่อนๆ เก็บไว้เป็นตัวเลือกในใจเพราะนอกจาก
เราจะได้ความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์แล้ว เรายังได้เปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นด้วย
เปิดให้บริการวันพุธ-วันอาทิตย์ หยุดวันนักขัตฤกษ์ (ยกเว้นเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์)
เวลา 09.00-16.00 น.
ยังมีบริการนำชมฟรี โดยอาสาสมัครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทุกวันอาทิตย์ 2 รอบ รอบเช้า 10.00-12.00 น. รอบบ่าย 13.30-15.30
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2224-1333
แผนที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น